การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
1) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส (linux community enterprise operating system)
Linux เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991 โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์
ในลักษณะของงานอดิเรก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบ Minix ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการคล้ายๆ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tanenbaum เพื่อประกอบการเรียนรู้ ในหนังสือเกี่ยวกับ การออกแบบระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
Linux Version 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991โดยมีเฉพาะ Harddisk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ให้ใช้เท่านั้น ไม่มีแม้แต่ Floppy Disk Driver และต้องมีระบบ Minix อยู่แล้ว จึงจะสามารถทำการคอมไพล และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ และบูตระบบผ่าน Minix
Linus เปิดตัว Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่งได้เปิดตัว Version 1.0 ในเดือนมีนาคม 1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX ที่สมบูรณ์แบบ มีความสามารถสนันสนุนกราฟิก X Window สนับสนุนระบบเครือข่าย TCP/IP สามารถรับส่งอีเมล์ ทำหน้าที่เป็น News, WWW, FTP Server ได้ และความสามารถอื่นๆ อีกมาก
2) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (windows server)
ปัจจุบันถูกพัฒนาเป็น Windows Server 2008 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพิเคชั่น และที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์ สามารถพัฒนาให้บิการและจัดการกับแอพพิเคชั่นต่างๆที่เสริมสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface : UI) เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการใช้งานสูงสุดนอกจากนี้ยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่มีความปลอดภัยสูง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าด้านเทคโนโลยีให้กับองค์กร โดยมีการเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานใหม่ๆ และยังเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบปฏิบัติการพื้นฐาน มีคุณสมบัติเด่น ดังนี้
1. สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์
2. เวอร์ชวลไลเซชั่น (virtualization) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสร้างระบบเสมือนจริงมีรากฐานจาก hypervisor
3. มีระบบจัดการและดูแลเว็บ ระบบวิเคราะห์ปัญหา เครื่องมือพัฒนา แอพพิเคชันที่ได้รับการพัฒนามากขึ้น
4. ระบบความปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งผสานการใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลายชิ้น และมีนวัตกรรมด้านความปลอดภัยใหม่ๆ อีกหลายชนิดเพื่อให้การติดตั้งระบบเครือข่ายตามนโยบายความปลอดภัยทำได้ง่ายขึ้น ช่วยปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของระบบเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงข้อมูลสำคัญด้วย
2. เวอร์ชวลไลเซชั่น (virtualization) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสร้างระบบเสมือนจริงมีรากฐานจาก hypervisor
3. มีระบบจัดการและดูแลเว็บ ระบบวิเคราะห์ปัญหา เครื่องมือพัฒนา แอพพิเคชันที่ได้รับการพัฒนามากขึ้น
4. ระบบความปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งผสานการใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลายชิ้น และมีนวัตกรรมด้านความปลอดภัยใหม่ๆ อีกหลายชนิดเพื่อให้การติดตั้งระบบเครือข่ายตามนโยบายความปลอดภัยทำได้ง่ายขึ้น ช่วยปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของระบบเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงข้อมูลสำคัญด้วย
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น